CRP จะถูกสร้างขึ้นเมื่อร่างกายมีภาวะอักเสบ หรือการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อคล้ายกับการตรวจ ESR
โดย CRP จะเพิ่มอย่างรวดเร็วภายใน 6 – 10 ชั่วโมง และขึ้นสูงสุดใน 24 – 72 ชั่วโมง และลดลงสู่ระดับปกติใน 1 – 2 สัปดาห์
การตรวจ CRP มีข้อดีกว่า ESR คือ
CRP จะให้ผลบวกก่อน ESR และผลกลับมาปกติขณะที่ ESR ยังสูงอยู่ค่า CRPไม่เปลี่ยนแปลงในภาวะซีด ระดับโกลบูลินในเลือดสูง (hyperglobulinemia) การตั้งครรภ์ไม่มีความแตกต่างระหว่างเพศชายและหญิงขณะที่ ESR เปลี่ยนแปลงในภาวะดังกล่าว
วิธีเดิมที่ใช้กันทั่วไป ในห้อง LAB จะวัดค่า serum CRP ได้ในช่วง 10-1000mg/L แต่ในปัจจุบันมีการพัฒนาการวัดแบบความไวสูง หรือที่เรียกว่า hs-CRP (high sensitivity CRP) ซึ่งสามารถวัดค่า CRPได้ต่ำถึง 0.3mg/L
แพทย์จะสั่งตรวจเมื่อไร
แพทย์จะสั่งตรวจเมื่อสงสัยว่าจะมีการติดเชื้อ เช่นการติดเชื้อแบคทีเรีย bacterial infection ภาวะโลหิตเป็นพิษ การติดเชื้อรา ช่องเชิงกรานอักเสบ Pelvic inflammatory disease (PID)ช่วยในการวินิจฉัยโรคหัวใจอักเสบรูมาติก Rheumatic feverใช้ค้นหาว่ามีการอักเสบในร่างกายหรือไม่ และใช้ติดตามการรักษาเช่นโรคข้ออักเสบrheumatoid arthritisInflammatory bowel diseaseข้ออักเสบโรคแพ้ภูมิตัวเอง Autoimmune diseases เช่น lupus ใช้ประเมินความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ (hsCRP)
การเตรียมตัวในการตัว
ไม่ต้องเตรียม
วิธีการตรวจ
การเจาะเลือดประมาณ 5 มิลลิลิตร ใส่ในหลอดเลือดที่ไม่มีสารกันเลือดแข็ง และควรจะนำส่งห้องตรวจภายใน 1 ชั่วโมง
ค่าปกติ
C-reactive protein (CRP) ค่าปกติ
น้อยกว่า 1.0 milligram per deciliter (mg/dL) หรือน้อยกว่า 10 milligrams per liter (mg/L)
การแปลผล
หากค่า CRP สูงอาจจะมีภาวะหรือโรคดังต่อไปนี้(แค่ตัวอย่าง มีโรคหรือภาวะที่ทำให้ค่า CRPเพิ่ม)
มะเร็ง CancerConnective tissue diseaseโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด Heart attackInfectionInflammatory bowel disease (IBD)SLEปอดบวม Pneumococcal pneumoniaข้ออักเสบ Rheumatoid arthritisโรคหัวใจ Rheumatic feverโรควัณโรคTuberculosis
ปัจจัยที่มีผลต่อการตรวจได้แก่
หลังออกกำลังกายใหม่ๆกำลังมีการติดเชื้อใส่ห่วงคุมกำเนิดกำลังตั้งครรภ์หากคุณอ้วน
การตรวจ High-sensitivity C-reactive protein (hs-CRP)
เป็นการตรวจหาปริมาณ CRP ที่มีความไวแม้ว่าจะมีปริมาณ CRP ในเลือดในปริมาณที่ต่ำ การตรวจนี้จะเป็นการตรวจเพื่อประเมินความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ โดยเฉพาะผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจได้แก่ ผู้ที่เป็นโรคไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ผู้ที่สูบบุหรี่
#High-sensitivity C-reactive protein (hs-CRP) level 1
ค่าปกติ >> น้อยกว่า 0.1 mg/dL or less than 1 mg/L
#ค่า hs-CRP level และความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ
ความเสี่ยงต่ำ >> น้อยกว่า 1.0 mg/L
ความเสี่ยงเหมือนคนทั่วไป >> 1.0 ถึง 3.0 mg/L
ความเสี่ยงสูง >> มากกว่า 3.0 mg/L
สำหรับท่านที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจท่านต้องควบคุมความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ และปรึกษาแพทย์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น