การตรวจภาวะการอักเสบ
วิธีการประเมินภาวะการอักเสบในร่างกาย ส่วนใหญ่เราจะอาศัยการวัดตัวชี้ระดับการอักเสบในเลือด (Inflammatory Marker) โดยมีหลายตัวชี้วัด เช่น
วิธีการประเมินภาวะการอักเสบในร่างกาย ส่วนใหญ่เราจะอาศัยการวัดตัวชี้ระดับการอักเสบในเลือด (Inflammatory Marker) โดยมีหลายตัวชี้วัด เช่น
1. ESR (Erythrocyte sedimentation rate) เมื่อมีการอักเสบในร่างกาย ตับจะเกิดปฏิกิริยาโดยการสร้างสารโปรตีนชนิดหนึ่งออกมาในเลือดมากขึ้น สารโปรตีนนี้จะมีผลทำให้เม็ดเลือดแดงเกิดการเกาะติดกันได้ง่าย
ค่าของ ESR ก็คือระยะทางเป็นมิลลิเมตรที่เม็ดเลือดแดงตกตะกอนลงมาอยู่ที่ก้นหลอดแก้วในเวลา 1 ชั่วโมง ยิ่งค่าของ ESR สูงก็ยิ่งแสดงว่ามีการอักเสบมาก จากหลักการดังกล่าว ESR จึงใช้วัดสิ่งที่เปลี่ยนแปลงในเลือด และใช้วัดภาวะต่างๆ ที่ก่อให้เกิดการอักเสบได้อย่างคร่าวๆ
แพทย์ มักใช้ค่า ESR ในการติดตามผลการรักษา ว่าดีขึ้นหรือไม่ ค่า ESR มีการแปรผันมาก ค่าจะเปลี่ยนแปรไปตามอายุ เพศ ยาที่ใช้ และโรคประจำตัวที่เป็นอยู่
2. CRP (C-Reactive Protein) เป็นโปรตีนตอบสนองในระยะเฉียบพลัน (acute phase reactant protein) อย่างหนึ่ง ซึ่งสร้างจากเซลล์ตับ สารชนิดนี้มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับการเกิดโรคเส้นเลือดแข็งตัว(atherosclerosis) ความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจกำเริบ และการมีอาการของโรคหัวใจครั้งแรก CRP จะถูกสร้างขึ้นเมื่อร่างกายมีภาวะอักเสบ หรือการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อคล้ายกับการตรวจอัตราการตกของเม็ดเลือดแดงหรืออีเอสอาร์ ESR โดย CRP จะเพิ่มอย่างรวดเร็วภายใน 6 – 10 ชั่วโมง และขึ้นสูงสุดใน 24 – 72 ชั่วโมง และลดลงสู่ระดับปกติใน 1 – 2 สัปดาห์ การตรวจ CRP มีข้อดีกว่า ESR คือ CRP จะให้ผลบวกก่อน ESR และผลกลับมาปกติขณะที่ ESR ยังสูงอยู่ และไม่เปลี่ยนแปลงในภาวะซีด ระดับโกลบูลินในเลือดสูง (hyperglobulinemia) การตั้งครรภ์ และไม่มีความแตกต่างระหว่างเพศชายและหญิง ขณะที่ ESR เปลี่ยนแปลงในภาวะดังกล่าว วิธีเดิมที่ใช้กันทั่วไป ในห้อง LAB จะวัดค่า serum CRP ได้ในช่วง 10-1000mg/L แต่ในปัจจุบันมีการพัฒนาการวัดแบบความไวสูง หรือที่เรียกว่า hs-CRP (high sensitivity CRP) ซึ่งสามารถวัดค่า CRPได้ต่ำถึง 0.3mg/L ซึ่งมีประโยชน์ในการนำมาใช้ประเมินความเสี่ยงของการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ ค่า hs-CRP ควรจะต่ำกว่า 1.0 จึงจะถือว่ามีความเสี่ยงต่ำ หากค่าอยู่ที่ 1-3 จะมีความเสี่ยงปานกลาง และถ้าค่า hs-CRP สูงกว่า 3 ถือเป็นความเสี่ยงสูง
3. สารจำพวก Interleukin เช่น Interleukin-6 สารตัวนี้หลั่งออกมาจากเม็ดเลือดขาว เป็นการตอบสนองต่อภาวะการอักเสบ เราพบความเกี่ยวข้องระหว่างสารตัวนี้สูง กับโรคหลายโรค เช่น เบาหวาน เส้นเลือดตีบแข็ง ซึมเศร้า อัลไซเมอร์ โรคภูมิแพ้ตัวเอง รูมาตอยด์ โรคมะเร็ง เนื่องจากเราพบสารนี้สูงในภาวะที่มะเร็งลุกลามมากและกำลังกระจาย
Lp-PLA2 เป็นโมเลกุลที่มีความจำเพาะมากขึ้น ต่อภาวะการอักเสบของหลอดเลือด สร้างออกมาจากเม็ดเลือดขาวที่บริเวณเส้นเลือดที่อักเสบ โดยถือเป็นตัวชี้วัดแรกสำหรับวินิจฉัยภาวะพลาคไม่เสถียร ซึ่งมีการอักเสบเกิดขึ้นตลอดเวลา
4. ช่วยประเมินความเสี่ยงและโอกาสที่จะเกิดหัวใจขาดเลือดได้ การประเมินความเสี่ยง โอกาสเกิดโรคหัวใจโดยอาศัยการตรวจเลือด จากการศึกษาเราพบว่าถ้าเราวัดระดับไขมันโคเลสเตอรอลรวม หรือค่าไขมันไม่ดี LDLเพื่อใช้ประเมินเพียงอย่างเดียว มีค่าพยากรณ์โรคอยู่ที่ประมาณ 2 ความหมายคือ ถ้าใครมีไขมันสูงมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นประมาณสองเท่า ถ้าใช้อัตราส่วนระหว่างไขมันโคเลสเตอรอลรวมต่อไขมันดี HDL(ค่าในอุดมคติไม่เกิน 3.5) หากสูงจะพยากรณ์ความเสี่ยงอยู่ที่ประมาณ 3 อย่างไรก็ตามหากใช้ตัวชี้วัดการอักเสบคือโปรตีน CRP ชนิดไวสูง (high-sensitivity CRP) มีค่าการพยากรณ์โรคอยู่ที่ 4 ซึ่งค่านี้เพียงค่าเดียวก็พยากรณ์โรคได้ดีกว่าค่าไขมันเสียอีก และหากใช้ค่า hs-CRP ร่วมกับอัตราส่วนไขมันโคเลสเตอรอล จะมีค่าการพยากรณ์โรคที่ 6 ซึ่งถือว่ามีความเสี่ยงสูงสุด
การดูแลรักษาภาวะการอักเสบในร่างกาย
วิธีที่ดีที่สุดในการดูแลรักษา ภาวะการอักเสบ ก็คือหาสาเหตุที่ทำให้เกิดการอักเสบ แล้วกำจัดสาเหตุนั้นออกไป หากว่าสาเหตุเกิดจากแบคทีเรียหรือไวรัส ชนิดซ่อนเร้น เราจะใช้การรักษาด้วย ออกซิเดชั่น เพื่อเพิ่มอนุมูลออกซิเจน ซึ่งมีส่วนสำคัญในการกำจัดไวรัสแบคทีเรียหรือเชื้อรา นอกจากนี้ อนุมูลออกซิเจนจากขบวนการออกซิเดชั่น ยังช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบออกซิเดชั่นในร่างกาย และระบบสมดุลการกำจัดอนุมูลอิสระ ให้กลับมาเป็นปกติ
หากสาเหตุของการอักเสบ เกิดจากสารพิษสะสมตกค้าง สารพิษหลายชนิดเช่น ไดออกซิน ยาฆ่าแมลง ถูกกำจัดได้ด้วย ออกซิเดชั่น ส่วนสารพิษโลหะหนัก ใช้การบำบัดคีเลชั่น
นอกจากนี้ สิ่งที่สำคัญที่สุดอีกประการหนึ่งคือ การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต เช่น การลดความเครียด การออกกำลังกายแบบแอโรบิค การหลีกเลี่ยงสารพิษต่างๆ ทั้งจากอาหาร จากน้ำ จากวิธีการปรุงอาหารที่ใช้น้ำมันและความร้อนสูงตลอดจนวิธีปิ้งย่าง ซึ่งก่อให้เกิดสารพิษมาก
ข้อมูลจาก : http://www.absolute-health.org/thai/article-th-040.htm
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น